พัฒนาชีวิต พัฒนาจิต และ สมอง ด้วยการใช้การ Coach วิถีพุทธ เพื่อนำศักยภาพตนเองมาใช้ 

เรื่องที่ 8 : โค้ชตัวเอง #1 : ทักษะการตั้งคำถาม
08 ก.ค. 2557

เคยตั้งคำถามกับตัวเองตั้งแต่เด็กๆว่า “ เกิดมาทำไม ” “เรียนไปทำไม” ระหว่างที่ดำเนินชีวิตบนคำถาม ก็ได้เห็นตัวอย่างคือ “ แม่ ” ที่ทำงานหนัก ได้ตัวอย่างบวกแรงบัลดาลใจว่า ไม่อยากให้แม่ลำบาก โตขึ้นต้องเลี้ยงดู พ่อ-แม่ คำถามจึงมาถึง “ ทำอย่างไรจะช่วยพ่อ-แม่ได้ คำตอบสำหรับเด็กสมัยนั้น คือ “ เรียนให้เก่ง จะได้เงินเดือนดีๆ มีมากพอจะเลี้ยงดู พ่อ-แม่ ตอนแก่ได้ ” ก็ได้คำตอบแล้วว่า “ เรียนไปทำไม ” ...


เป้าหมายจึงเรียนให้เก่งๆ โตขึ้นจะได้ทำงานดีๆ มีเงินมากพอที่จะเลี้ยงพ่อแม่ได้ เป้าหมายก็ง่ายๆแค่นี้แหละ ระหว่างทางที่ดำเนินชีวิต มีเรื่องต่างๆเกิดขึ้นมากมาย มีคำถามเกิดขึ้นเป็นระยะๆ โดยเฉพาะ “ เกิดมาทำไม ” แล้ว “ ทำไมเราถึงเกิดมา ” เมื่อเจอความทุกข์เราก็มีคำถาม แต่พอมีความสุขคำถามก็ลดลง ไม่มีคำถามเพราะไม่ได้สนใจมัน ก็อยากมีความสุขตลอดเวลา ไม่อยากเจอความทุกข์เลยแต่ไม่ว่าจะมีความสุขกับเรื่องอะไรเรามักพบว่า มันก็หมดและผ่านช่วงนั่นไป วันเกิด,วันปีใหม่,วันหยุด,วันฯลฯ ที่พอถึงวันนั้น ได้ทำบุญบ้าง,ได้ทำกิจกรรมอื่นที่ไม่ใช่งานบ้าง มันก็มีความสุข ในวันนั้นๆ นะ แต่พอวันนั้นผ่านไป กลับสู่ Mode การทำงาน ถ้างานไม่มีปัญหา ก็ธรรมดา มีรายได้ก็ดีใจ มีปัญหาก็รู้สึกไม่ชอบ ก็ตั้งคำถามว่า.. เออ..ทำไงเราจึงจะสามารถมีความสุขกับการมีชีวิตอยู่ทุกวัน อ่านหนังสืออะไรก็ไม่ได้คำตอบ อ่านหนังสือบริหาร,การตลาด,การขาย,การพัฒนาตัวเอง,ธรรมะหลายๆเล่ม ก็ไม่ได้คำตอบ เหมือนเป็นเรื่องที่เรารู้หมดแล้ว(ใจไม่รับ) ไม่ใช่ทฤษฏี หรืออ่านมากมายหลายร้อยเล่มนะ จะเป็นเพราะอ่านไม่ลึกซึ้งก็ได้ แต่เพราะหนังสือทั่วไป มักบอกว่าให้เราทำแบบนี้ แล้วจะได้แบบนี้ แต่ไม่เคยบอกว่าที่มาของมันคืออะไร เช่น สอนให้คนคิดบวก แต่แค่คำว่านิยามของการคิดบวกก็มองไม่เหมือนกัน มันดิ้นได้ หรือเราก็มองแบบเขาแหละ แต่ทำไมเรายังได้รับผล ที่ไม่ดี (รู้สึกไม่ชอบ,ไม่ประสบผลสำเร็จ,ถูกมองในแง่ลบ,ไม่ได้รับความร่วมมือ, etc. ) แต่พอได้อ่านหนังสือธรรมะของพระองค์หนึ่ง ที่เขียนแล้วทำให้เราเห็นถึงกระบวนการที่เกิดขึ้นของสิ่งต่างๆ และหมดไปของสิ่งต่างๆ มันทำให้เราเห็นอะไรช้าลง และรู้สึกชีวิตไม่ไปวุ่นวายกับเรื่องต่างๆ ที่เข้ามา ก็รู้สึกว่าชีวิตมีความสุขโดยที่ไม่ต้องทำอะไรมาก ก็ทำเหมือนเดิม ใช้ชีวิตเหมือนเดิม มีรายได้ก็มีความสุข ไม่มีรายได้ก็มีความสุข(น้อยหน่อย 555) มีปัญหาก็เฉยๆ หงุดหงิดน้อยลงแก้ปัญหาดีขึ้น ก็ไม่รู้ว่านี้คือสิ่งที่คนส่วนใหญ่ต้องการหรือไม่ ชีวิตที่ใจดิ้นรนน้อยลง แต่ไม่ใช่ขี้เกียจ คือรู้ว่า “ เกิดมาทำไม ” “ทำไมต้องทำงานและมีความสุขกับการทำงานด้วยนะ” ไม่ใช่ “ทำงานเพราะต้องทำงาน” ก็เลยรู้ว่าเกิดมาเพื่อสืบทอดสิ่งดีๆให้ดำรงต่อไป


การตั้งคำถามกับตัวเองเพื่อหา "เป้าหมาย" และค้นหาตัวเองให้เจอ เป็นทักษะแรกของการเป็นโค้ช บางครั้งเราอาจจะหาตัวเองไม่เจอ เพราะยังต้องวิ่งวุ่นไปกับสิ่งต่างๆในชีวิต นั่นเป็นเพราะเราทำเหตุไว้เยอะ แต่ถ้าเราหมั่นตามตัวเองไปเรื่อยๆ โดยใช่สติประคับประครองสถานการณ์ต่างๆให้ผ่านไป เราก็จะไม่สร้าง Effect เพิ่มเติมขึ้นมาอีก ( Effect ในทางลบที่จะต้องคอยแก้หรือเผชิญอีก)  ชีวิตเราก็จะสงบขึ้น ในระหว่างที่สงบนี้ เราก็ยังต้องดำเนินชีวิตไป และขยับจาการแก้ Effect เป็นการตั้งเป้าหมาย แล้วทำเป้าหมายให้ชัดเจนขึ้น ไปพร้อมๆกับแผนในการทำเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ในทางโลกเราอาจเรียกสิ่งนี้ว่า “การคิดเชิงกลยุทธ์” หรือเปล่าไม่แน่ใจ จะลองศึกษาเรื่องการเกิดให้ลึกซึ้งขึ้น เพื่อที่เอามาเทียบเคียงกับทางโลกและจะได้เข้าใจและเห็นภาพว่าการปฏิบัติไม่ได้ยากอย่างที่คิด ที่ยากเพราะไม่ปฏิบัติมากกกว่า

สมัยที่เรียนหนังสือครูมักบอกว่า ให้ขยันตั้งคำถาม ตอนนั้นก็งงๆนะว่าให้ถามอะไร  จะให้สงสัยอะไร ก็ยังไม่รู้นี่ว่าจะให้สงสัยอะไร เพราะเราตั้งข้อสงสัย มีคำถาม ซึ่งมาจากการสังเกตของเรานั่นเอง นำไปสู่การคิดและหาคำตอบ การสังเกตเป็นสิ่งกลางๆ ซึ่งหากสังเกตด้วยจิตใจที่เป็นกุศล (คิดบวก) จะทำให้เราหาคำตอบในเชิงสร้างสรรค์ และทำในเชิงสร้างสรรค์ แต่ถ้าสังเกตด้วยจิตใจที่เป็นอกุศล(คิดลบ)จะทำให้เราหาคำตอบในเชิงสร้างปัญหา และทำในเชิงก่อปัญหา เช่น เราอาจสังเกตว่าการทำงานเป็นระบบแบบนี้มันมีจุดที่ทำให้เกิดความผิดพลาดได้ ถ้าเราสังเกตด้วยใจที่เป็นกุศล เราก็จะตอบตัวเองว่า “จะทำอย่างไร” เพื่อให้จุดนั้นมีโอกาสผิดพลาดได้น้อยลง (หาทางป้องกัน) แต่ถ้าสังเกตด้วยใจที่เป็นอกุศลเราก็จะถามว่า “ใครทำให้เกิดแบบนี้/ปัญหานี้ ” นำไปสู่การจับผิดและโทษคนอื่น

เราก็ไม่รู้ว่า เราใช้เทคนิคใดในการเรียน แต่ด้วยการชี้เข้าตัวเอง คือ ไม่ว่าไรจะเกิดขึ้นให้มองที่ “ตัวเอง” ว่าจะปรับตัวอย่างไร ไม่ใช่การโทษสภาพแวดล้อม ไม่รู้ว่านี่คือการฝึกสติชนิดหนึ่ง ที่กล่าวว่าคนส่วนใหญ่ต้องการคำชม เพราะไม่สามารถชมตัวเองได้ แต่เรียกร้องจากคนอื่น อาจารย์สอนเก่งๆ จะสอนเพิ่มว่าไปชมคนอื่นนะ แต่ตัวเองไม่ต้องชมก็ได้ เพราะเข้าใจแล้วว่า ความปลื้มใจมันอยู่ชั่วคราว ไม่ติดกับความปลื้มใจ,ความสำเร็จที่เกิดขึ้น หมั่นตั้งคำถามเชิงสร้างสรรค์
แต่ให้มีคำตอบเชิงบวก ก็จะช่วยให้ชีวิตมีสติ และมีความสุขได้ในระดับหนึ่ง




     

     

 
Untitled Document
Stay In Touch Service Contact Web Link
   Email
  
   ชื่อ-นามสกุล
  

  

   - Inhouse Group Coaching & Training
   - Followup Training
   - SME Consulting
   - Online Service


- Coach Air.net
- Call   : 086-896-9200
- Email : wnuttha@gmail.com
- Address : Ramkamhaeng Bangkapi Bangkok


  • http://www.entraining.net
  • http://www.coachatwork.in.th
  • http://www.pakornblog.com
    Link น่าสนใจ :
    # คำนวนการออม เพื่อการเกษียณ
  • TSI Financial Tools
  • Retirement Calculator
  • Home  |  About  |  Service  |  Portfolio  |  Download  |  Contact Aptitude Test