เทียบเคียงกับทักษะการพูดในเชิง Coach คือ Positive Feedback และเทคนิคการ Motivate
การให้ Positive Feedback คือการป้อนกลับเชิงบวก ซึ่งจะตรงกับข้อ 2 ในหลักตรัสพระวาจา ส่วนข้อ 1 จะขึ้นกับทักษะการฟังของผู้ฟัง และการยอมรับนับถือระหว่างผู้พูด และ ผู้ฟังด้วย ถ้าหากฟัง เป็นเรื่องการ Comment อันนี้จะทำให้เกิดผลเสียกับผู้พูดมากกว่า แต่หากฟังเป็นเรื่องว่ายังมีสิ่งที่ผู้ฟังสามารถพัฒนาเพิ่มเติมได้อีกอย่างไร และไม่ทำให้เกิดความกังวลตามมา การฟังแบบนี้ก็จะให้ประโยชน์แก่ผู้ฟัง
ในทางปฏิบัติ Coach อาจใช้คำถามเพิ่มเติมแทนการ Feedback ในกรณีที่เห็นว่า Coachee กำลังหลงทาง ซึ่งต้องใช้สติมาก เพราะเจตนาของโค้ช อาจไม่ได้ตั้งใจทำให้ Coachee รู้สึกไม่ดี แต่สติไม่ไวพอที่จะหาคำถามมาถามได้อย่างเหมาะสมในขณะนั้น
พระก็เล่าว่า ไม่ใช่ทุกคนที่ชอบ / รัก พระพุทธเจ้า และก็ไม่ใช่ว่าพระองค์จะสอนคนได้ทุกคน แต่ให้ถือหลักว่า ต้องใช้ ความกรุณา ในการสอนเขาก่อน หากยังไม่ได้ในชาติ(ช่วง)นี้ อย่างน้อยเขาก็ได้รับข้อมูลอะไรบางอย่างไป หากวันหนึ่งเขามีสติขึ้นมาชั่วแว๊ป ก็อาจทำให้เขาเปลี่ยนชีวิตได้เหมือนกัน ดังนั้น เราจึงไม่ควรคาดหวังกับผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น แม้ว่าจะทำด้วยความตั้งใจหรือมีเจตนาทีดีก็ตาม
ในฐานะวิทยากรในรูปแบบโค้ช จะประยุกต์ใช้หลักตรัสพระวาจา 6 ประการกับผู้เรียนได้ในทำนองเดียวกัน พื้นฐานสำคัญคือการฟังสิ่งที่ผู้เรียนแลกเปลี่ยนมุมมอง (ความคิด) แกมา แล้วแปลเพื่อการพูดให้เข้าหลัก 1 หรือ 2 โดยมีเป้าหมายหลักคือ การทำให้ผู้เรียนมุ่งไปข้างหน้าอย่างมีทิศทาง (เป้าหมาย) ช่วยให้เขามี สัมปชัญญะ ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆในชีวิตที่ดีขึ้น