|
เรื่องที่
11 : บทบาทการสอน, ความรู้สึก และ ผลลัพธ์
16 ก.พ. 2558
|
ช่วงนี้ได้มีโอกาสเริ่มสอนใน Class อย่างเป็นกิจจะลักษณะ เตรียมตัวค่อนข้างมาก เหมือนย้อนกลับมาเรียนอีกรอบสังเกตตัวเองว่าการสอนในแต่ละบทบาทต่อผู้ถูกสอนให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน
|
- สอนลูก ขณะที่เมื่อก่อนพยายามใช้บทบาทโค้ชเพื่อฝึกให้เขาคิด รู้สึกว่าเครียด ก็มีโค้ชบางท่านบอกว่าเขาไม่โค้ชคนใกล้ตัวกันเพราะมีความสัมพันธ์และความคาดหวังจากทั้ง 2 ฝ่าย ใจเราก็นึกถึง พ่อของ เชเรนาวิลเลียม นักเทนนิสมือ 1 ของโลก จำไม่ได้แล้วว่า อ่านจากหนังสือ หรือ นิตยสารเล่มไหน ที่พูดถึงในแง่ของการดึงศักยภาพของลูกสาว) ทำให้เรารู้สึกสับสนเหมือนกันว่าจะเชื่ออันไหนดี มันต้องมีวิธีไม่งั้นพ่อของเซเรนาคงทำไม่ได้ แต่ตอนติวครั้งหลังนี้ใช้บทบาท Training เลย คือบอกจุดสังเกตให้เขาจำเขาก็สามารถทำได้ดี ... ความรู้สึก กูเก่ง ขึ้นมาอีก
- สอนพนักงาน เมื่อใช้บทบาทโค้ช เพื่อฝึกให้เขาคิด รู้สึกว่าเบาสบาย เพราะไม่คาดหวังว่าเขาจะต้องทำเป็นในครั้งนี้ สบายกว่าการเป็น Trainer เพราะตอนสอนรู้สึกว่า กูเก่ง เลยคาดหวังว่าเขาคงจะรู้เรื่องที่เราสอนแล้วเอาไปทำตาม
- สอนเลขให้เพื่อนสมัยมัธยม (ห้องสายศิลป์) ใช้บทบาท Trainer เพราะอยากให้เขาเข้าใจในรายละเอียดและติวแบบฝึกหัดให้ รู้สึกสบาย เพราะไม่ได้คาดหวังว่าเขาจะทำได้หรือไม่ (เสมอตัวเพราะเขาไม่รู้เรื่องอยู่แล้ว) ผลการสอบเขากลับมาชมเราว่าสอนดีมาก เพื่อนสอบผ่านหมดเลย.... ฮูเร่ ยินดีด้วยเพื่อน
- การสอนใน Class ฝึกอบรมสมัย เป็นพนักงานให้บริษัท การสอนใช้บทบาท Trainer เพื่อให้ผู้เรียนฝึกทักษะการใช้งานสินค้าและบริการของบริษัทจะเป็น Trainer ที่มีแต่คนชมว่าพูดรู้เรื่องที่สุดแล้วเพราะความรู้สึกเดียวคือ อยาก ให้ เขารู้และสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ ในสินค้า/บริการนั้นๆของเราได้ก็ทำตาม Learning Pyramid (สมัยก่อนยังไม่มีเรื่อง การ Coaching เลยทำเพราะอยากให้ เขามีความรู้ แค่นั้น) ที่ระดับ Practice Doing, มี Discuss แต่น้อยเพราะคนไทยไม่ค่อยชอบตอบคำถาม เราก็ได้แค่ถามในเชิงว่าถ้าเกิดอยากทำแบบนี้ คุณจะทำอย่างไร ? แค่นั้น
- สอนใน Class ฝึกอบรมช่วงนี้ ใช้บทบาท Trainer& Coaching ช่วงแรกๆพยายามเป็นโค้ชเราก็เครียดเพราะพยายามกระตุ้นให้เขาคิด (บังคับ) มีบางส่วนฟังเพราะเป็นอะไรที่เขารู้สึกว่ามันแปลกเขาไม่เคยคิด บางส่วนไม่ฟัง พอใช้ Training เราก็รู้สึกสบายเพราะเราพูดในสิ่งที่เรารู้ (ให้ความรู้) บางส่วนที่ไม่ฟังก็เริ่มฟัง (ว่ามันคืออะไร) ส่วนที่ฟังแล้วเขาพยักหน้ากลับด้วยเข้าใจแต่พอถามว่าคุณจะเอาไปใช้อะไร-อึ้ง !!! แล้ว Class ก็ดำเนินไปจนเกือบจบก็กระตุ้นไม่ได้ทั้งห้องจน Break สุดท้ายยิงไปประโยคเดียวว่า วันนี้ถ้าอาจารย์ เอา VDO มาให้พวกเราดู อาจารย์ก็สบายแต่พวกเรากลับไปแล้วจะเผชิญกับชีวิตจริงที่ไม่เหมือนในVDO ได้มั้ย คำถามทรงพลังประจำวันเลย.....เท่านั้นแหละทำกิจกรรมได้คึกคักเลย ความยังไม่ชำนาญในการใช้คำถาม ก็ทำให้เราต้องปรับวิธีการไปเรื่อยๆจบ Class เรารู้สึกว่าวันนี้ เราต้องกลับไปทำอะไรเพิ่มเติมอีกเยอะเพื่อให้การสอนทั้งเราและผู้เรียนได้ประโยชน์และสนุกกับชีวิต
เมื่อไหร่ที่ไม่คาดหวังกับผลลัพธ์ แต่ตั้งใจเดินตามแผนการสอนเพื่อไปสู่ผลลัพธ์ก็จะทำกิจกรรมได้อย่างสนุกและเชื่อมั่นเพราะการยอมรับกับผลที่เกิดขึ้นไม่โทษสภาพแวดล้อมและนำกลับไปปรับปรุง
|
|
|