ในการดำเนินการสนทนานั้น ก็มีหัวข้อที่ผู้บริหาร (สมมติ ผู้บริหาร ชื่อคุณ AF) ได้ตั้งคำถามขึ้นว่า
คุณ AF : "แต่ก็ไม่รู้หัวหน้า(ของผู้บริหาร) เขาจะคิดอย่างไร เพราะเดี๋ยวนี้เราจะไม่ได้เป็น Mr.ครับผม เหมือนเมื่อก่อนแล้ว เราจะกลายเป็นคน Aggressive หรือไม่ ".
Coach Pakorn ว่าตอนนี้เราไม่ได้เป็นเหยื่อ หัวหน้าเขาก็ขาดความมั่นใจไป เขาก็ไปหาเหยื่อรายใหม่
แล้วคุณ AF ได้พูดคุย และเล่าสถานการณ์ ที่กำลังครุ่นคิดอีกเรื่องหนึ่งขึ้นมา
คุณ AF : " เวลาเขาสั่งงาน/มอบหมายงาน เรื่องเป้าหมายยอดขาย เขาไม่ CC เราแล้ว เลยไม่รู้ว่าเขาคิด อย่างไร แต่ก็ไม่ได้กลัวหรือกังวลว่าเขาจะย้ายเราไปไหนหรือไม่ เหมือนเมื่อก่อน เขามอบหมายเป้าให้เราเยอะกว่าอีก Port หนึ่ง.. แต่เราก็คุยกับเขาด้วยเหตุและผล " .
Coach Pakorn : "อันนี้จะให้โค้ชหรือขอคำปรึกษา"
คุณ AF : "ขอคำปรึกษา"
Coach Pakorn : "Ok ถ้าในมุมมองของผู้บริหาร คุณ AF ไม่สามารถเถียงหัวหน้าได้ เพราะหัวหน้าเราก็รับเป้ามาจากผู้บริหารระดับสูงอีกทอดหนึ่ง หากเขาส่งเป้าไม่ได้ เขาก็ต้องรับผิดชอบ เขาก็ต้องหาวิธีใหม่ที่จะทำให้ได้ตามเป้าหมาย ผู้บริหารทุกคนที่เติบโตมา เขาต้องมีผลงานที่ Above Average อย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่ได้แค่ Average หรือ below Average"
คุณ AF : "อืม ได้มุมมองใหม่"
แล้วการสนทนาก็เข้าสู่กระบวนการโค้ชผู้บริหารท่านนั้น ผลคือคุณ AF ได้ Idea ที่จะกลับไปทำอะไรใหม่เพิ่มเติม
ประเด็นที่อยากจะเล่าคือ เสน่ห์ของการโค้ชงาน ไม่ใช่อยู่ที่การแก้ปัญหาเชิงพฤติกรรมได้ แต่ผลของการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่การคิด เพราะทักษะการโค้ชในเรื่องของการฟังอย่างตั้งใจ คือการฟังว่าเขาพูดอะไร ไม่ใช่ฟังว่าเขาพูดอะไรกับเรา จึงทำให้ข้อมูลที่ฟังนั้น เป็นสิ่งหนึ่งที่ให้เราพิจารณา ไม่ใช่บอกว่า เรา เป็นอะไร การสนทนาต่างๆ ก็จะเป็นไปด้วยความเปิดใจ และนี่ก็เป็นเสน่ห์อีกอย่างของโค้ชปกรณ์ที่พลิกมุมไปมาระหว่างเทคนิคโค้ช กับ การให้คำปรึกษา ทำให้สุดท้าย โค้ชชี่ก็ได้อะไรกลับไปแบบไม่ใช่แค่เรื่องทัศนคติเชิง+ แต่มันมี Motivation ในตัว นอกจากนี้ โค้ชเองจะต้องมีสติ และสมาธิสูงมากในการที่จะถาม และ Feedback ประเด็นต่างๆจน Coachee เกิดความกระจ่างในตัวเอง และถ้าจะให้ดีต้องสามารถสร้างแรงจูงใจให้แก่ Coachee ได้ด้วย เพราะเราอาจจะเห็นคนเปลี่ยนแปลงแค่คำพูด แต่ไม่เกิดการกระทำ หรือลงมือทำจริงๆ
อีกอย่างที่เป็นข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับตัวเอง คือ ข้อสงสัยที่ว่าที่ให้ลูกน้องทำงานทำไมลูกน้องชอบคิดว่าหัวหน้า หลอกใช้ เลยถาม Coach Pakorn ไป ได้คำตอบว่านี่เป็นคำถาม-คำตอบที่พบส่วนใหญ่ใน class ที่ก็มีพนักงานบางคนที่รู้สึกแบบนั้น ก็ทำไมใช้แต่เขาล่ะ ทำไมไม่ไปใช้คนอื่นบ้างล่ะ อืม...ก็คิดได้นะ แต่นี่แปลว่า หลอกใช้หรอ ? หลอกใช้น่าจะหมายถึงว่า ให้เขาทำงานฟรีหรือให้ทำงานแล้วเอาผลงานมาเป็นของตัวเองไม่ใช่หรอ... หรือเราเข้าใจอะไรผิดหรือเปล่า ช่างเถอะจะแปลอะไรก็ช่าง แต่การให้ลูกน้องทำงานเยอะๆ ก็อาจทำให้ลูกน้องรู้สึกไม่ดีกับหัวหน้า... .... แล้วหัวหน้าต้องทำไงล่ะ ต้องให้ความยุติธรรมกับทุกคน แบ่งงานให้เท่าๆ กันอย่างนั้นหรอ!!! ... เรื่องคนนี่ช่างละเอียดอ่อนเสียจริง