ได้แง่คิดมากมาย ทำให้เห็นความจริงของโลกหลายๆแง่มุมมากขึ้น เคยแค่ได้ยินจากคนเล่าเกี่ยวกับประวัติของพระพุทธเจ้าว่าเป็นเจ้าชาย ที่ยอมสละความสุข เพื่อค้นหาความจริงของชีวิต สั้นๆ แค่นี้ แต่พอได้ดู ก็เลยได้รายละเอียดมากขึ้น ทำให้เราเห็นว่า โลกมีทั้งด้านดีและด้านไม่ดี มานานนมแล้ว ระหว่างดู เราก็เห็นตัวเองตัดสินเป็น ช่วงๆ ถึงสิ่งที่เจ้าชายสิทธัตถะทำ กับสิ่งที่อาจารย์ของเจ้าชายสอน เรารู้สึกอย่างไรเมื่อเราเจอสถานการณ์ที่เป็น Conflict ระหว่างพ่อที่หวังดีกับลูกและคาดหวังกับลูกในฐานะกษัตริย์กับศักยภาพของลูก ในอารมณ์หนึ่งพ่อก็ดีใจ อีกอารมณ์ก็ผิดหวัง แม้แต่พ่อที่ได้ลูกที่ดีที่สุดก็ยังมีความทุกข์กับ Conflict นี้
ในฐานะตำแหน่งวรรณะกษัตริย์ มี "คุณสมบัติ" กับ "หน้าที่" ในตอนที่เทวทัตยิงหงส์ ส่วนเจ้าชายช่วยหงส์ที่เทวทัตยิงตกให้รอดชีวิต แล้วใครควรได้หงส์ จึงต้องให้กษัตริย์ตัดสินว่าใครควรจะได้เป็นเจ้าของหงส์ เทวทัตแสดงทักษะนักล่า ซึ่งเป็นคุณสมบัติของ "ผู้ปกครอง" (มีพลัง มีความแข็งแรง,แข็งแกร่ง-นักรบ การใช้ความรุนแรง) ส่วนเจ้าชายสิทธัตถะ ทำหน้าที่ "ผู้ปกป้อง" โดยให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือแก่ผู้อ่อนแอ ทั้งคู่ต่างต่างให้เหตุผลที่เป็นเรื่องที่วรรณะกษัตริย์ควรทำ ทำให้พระเจ้าสุทโธทนะตัดสินไม่ได้ ปราชญ์ที่เป็นที่ปรึกษาก็ตัดสินไม่ได้ ต้องให้ "หงส์" เป็นผู้ตัดสินว่าจะอยู่กับใคร และแน่นอน
ตอนที่ประลองกำลังกันระหว่างเจ้าชายกับเทวทัต การที่เจ้าชายไม่ยอมต่อสู้ เอาแต่ป้องกันเพราะไม่อยากทำร้ายพี่ชาย(แค่จะโดนกระบองตีก็ Serious แล้วว่าทำไม่ได้) ทำให้การต่อสู้ไม่มีผลแพ้ชนะอยู่เป็นเวลานาน จนพระอาจารย์ของเจ้าชายต้องเข้ามายื่นคำขาดว่าจะตัดขาดการเป็นศิษย์-อาจารย์ ถ้าไม่ยอมแสดงศักยภาพ(ความแข็งแกร่งในฐานะวรรณะกษัตริย์) เจ้าชายจึงจำเป็นต้องแสดงออกมาเพื่อตอบแทน
1.ความคาดหวังของพระอาจารย์ในฐานะผู้ให้ความรู้
2.ความคาดหวังของพ่อในฐานะเป็นลูกกษัตริย์
3.ความคาดหวังของประชาชนต่อว่าที่กษัตริย์ในภายภาคหน้า
ชีวิตคนเราล้วนมี Conflict แม้ว่าจะเป็นการทำสิ่งที่ถูกต้องใน ?หน้าที่? ของตัวเอง ทั้งหมดเป็นความต้องการของมนุษย์ ที่แต่ละคนก็มีเส้นทางซึ่งโดยมากมาจากนิสัย ความเคยชินเดิมๆที่ตัวเองเป็นมา อย่างเทวทัต เด็กๆก็ดูน่ารัก แต่อยู่กับแม่ที่เอาแต่เสี้ยมเรื่องแย่ๆให้ ก็กลายเป็นคนไม่ดี
เมื่อทำไปมากๆ รับผลกันมากๆ ก็ได้คิดขึ้นมาว่า...ชีวิตมันไม่ไปไหนเลย เวียนวนอยู่แค่ประมาณนี้ และในที่สุดทุกคนก็ปรารถนาจะไปที่เดียวกัน คือ "ความหลุดพ้น" เท่าที่เคยได้ยินมาว่าในท้ายที่สุดก็มีการพยากรณ์ว่า "เทวทัต" ก็จะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งแต่ไม่รู้ว่าชาติไหนนะ คิดตาม Logic ก็ว่าน่าจะเบื่อที่เห็นเรื่องซ้ำๆ ก็เลยไม่อยากทำอีกแล้ว ตามที่เคยได้ฟังพระเคยสอนเลย เมื่อเห็นความจริง จึงเบื่อหน่าย แล้วคลายความยึดถือ แล้วจึงอยากปล่อย แล้วก็หาวิธีปล่อย เมื่อรู้วิธีปล่อย ก็หลุดพ้นได้
"การเรียนธรรมะก็ไม่ได้เพื่อเอาความสุขอะไร ไม่ได้เรียนเพื่อจะเอาความฉลาดรอบรู้ด้วย แต่เรียนให้เห็นความจริงเท่านั้น"
แต่วันนี้ สำหรับเรา ... ยังกิเลสเยอะอยู่ ยังกลัว ความลำบาก ยังห่วงลูก ยัง ฯลฯ เมื่อไหร่จะเลิกห่วงลูกฟระ... 555
Cr.ภาพ handtosoultherapy.wordpress.com